อาคารสีเขียว สิ่งปลูกสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ในปัจจุบันกระแสรักษ์โลกกำลังมาแรง และเชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินคำว่า ‘อาคารสีเขียว’ เทรนนี้ดังในภาคส่วนสถาปัตยกรรมวงการก่อสร้าง โดยมุ้งเน้นเรื่องการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่กระบวนการออกแบบ คัดสรรวัสดุ การก่อสร้าง รวมไปถึงการปรับปรุงซ่อมแซม ทุกขั้นตอนต้องเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีเป้าหมายเพื่อลดการใช้พลังงานที่ส่งผล
กระทบต่อสภาพแวดล้อม ในต่างประเทศ ‘กระแสกรีน’ เป็นที่นิยมกันมาก เหล่าวิศวกรต่างออกแบบตึกทรงพิสดารต่าง ๆ หนึ่งในนั้นได้แก่ ตึก Bahrain World Trade Center ตึกที่ใช้พลังงานทดแทนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่าง ‘ลม’ จะเป็นอย่างไรไปดู
รู้จัก ตึกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วยการใช้พลังงานลม Bahrain World Trade Center
หากคุณได้มีโอกาสไปเยี่ยมเยือน บาห์เรน แล้วบังเอิญผ่านตึกที่มีโครงสร้างอันแปลกประหลาด ลักษณะคล้ายเสาเรือใบติดกังหันลม ขอให้รู้ไว้ว่านี่คือตึก Bahrain World Trade Center นอกจากดีไซน์ที่สวยงามผนวกกับความสูงที่ตั้งตระหง่านกลางเมืองหลวง อัล มานามา แล้ว ตึกนี้ยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง ด้วยการใช้พลังงานลม ซึ่งเป็นพลังงานธรรมชาติในการขับเคลื่อน ออกแบบโดย Shaun Killa หัวหน้าสถาปนิกของ Atkins Architecture ผู้มีความสนใจเรื่องพลังงานลมและเป็นนักแล่นเรือใบ ความชอบเหล่านี้เป็นตัวจุดประกายให้เขาออกแบบตึกที่สามารถสร้างพลังงานทดแทนเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยการใช้นวัตกรรมกังหันลมบนอาคารสูง จนกลายมาเป็นตึก Bahrain World Trade Center ในท้ายที่สุด
กังหันลมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมนั้นเป็นอย่างไร
ตึกทั้งสองเชื่อมกันด้วยสะพานที่มีน้ำหนัก 68 ตัน อยู่ 3 จุด โดยสะพานนี้จะเป็นแกนสำหรับใบพัดกังหันที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 13 เมตร หมุนได้ 38 รอบต่อนาที และสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 1,300 เมกกะวัตต์ต่อปี ตัวสะพานถูกออกแบบมาให้มีลักษณะคล้ายตัว V เอียงหลังไป 1 เมตร ทั้งนี้เพื่อเลี่ยงตัวใบพัดปะทะเข้ากับตัวสะพานในวันที่สภาพอากาศย่ำแย่ ลักษณะเรียวยาวของตัวตึกเกื้อหนุนให้กระแสลมพัดไปยังกังหันตัวที่อยู่ด้านล่างก่อน จากนั้นจะส่งกระแสลมที่มีกำลังน้อยกว่าไปยังตัวที่อยู่สูงถัดไป ซึ่งจะทำให้ใบพัดหมุนอย่างสม่ำเสมอด้วยความเร็วที่ใกล้เคียงกัน ส่งผลให้เกิดพลังงานไฟฟ้าในอัตราเท่ากัน จึงได้พลังงานทดแทนที่ทั้งสะอาดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในคราวเดียว
นอกจากการใช้พลังงานสะอาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว การเลือกใช้วัสดุกันความร้อนและการออกแบบอาคารให้เก็บอุณหภูมิได้นั้นก็มีส่วนสำคัญ สถาปนิกเลือกใช้ผนังกระจกหนาสองชั้นแบบเคลือบสีติดบริเวณโดยรอบของอาคาร เพื่อช่วยลดการดูดซับความร้อนมากถึง 85 เปอร์เซ็นต์ และใช้ระบบปรับอากาศที่มีประสิทธิภาพ เพื่อรับมือกับสภาพอากาศที่ร้อนระอุของอาหรับ พวกเขา(วิศวกร) คำนึงถึงเงื่อนไขข้างต้นพลางคัดสรรวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน นี่เป็นหลักฐานที่ว่าในอนาคตค่านิยมของโลกกำลังจะเปลี่ยนไป แม้คุณเองจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม